ผลการตรวจสุขภาพทางการเงิน

    1.เป้าหมายชีวิตและเป้าหมายทางการเงินของคุณในวันนี้ คือ
    2. ปัจจุบันคุณมีรายได้หลักมาจากแหล่งใด
    3. นอกจากรายได้ในข้อ 2 แล้ว คุณยังมีรายได้มาจากแหล่งอื่นอีกหรือไม่
    4. โดยทั่วไป คุณจะ...
    5. ที่ผ่านมาคุณออมเงินคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ต่อเดือน/div>
    6. ถ้าคุณได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท คุณจะ...

ผลการตรวจสุขภาพทางการเงิน (ต่อ)

    7. ปัจจุบันคุณมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินที่ทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่มีรายได้ นานที่สุดกี่เดือน
    8. เวลาคุณจะใช้เงินซื้ออะไรบางอย่าง คุณจะ...
    9. ในแต่ละเดือน คุณมีภาระต้องชำระหนี้สินทุกประเภทคิดเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้
    10. ปัจจุบันคุณมีบัตรเครดิตที่มียอดคงค้างและต้องชำระดอกเบี้ยอยู่กี่ใบ
    11. สมมุติว่าคุณมีหนี้อยู่หลายประเภท คุณคิดว่าหนี้ประเภทใดที่เป็นปัญหากับชีวิตของคุณมากที่สุด
    12. คุณมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการทำประกันชีวิต

คำถามตรวจสุขภาพทางการเงิน

ผลการคำนวณ

คุณมีสุขภาพทางการเงินระดับอ่อนแอ

มีสัญญาณบ่งบอกถึงความอ่อนแอในสุขภาพทางการเงินของคุณอาจเพราะคุณมีมุมมอง ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้จ่ายที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายในปัจจุบัน แต่หากคุณจะใช้จ่ายอะไร ลองพิจารณาถึงความจำเป็น พร้อมทั้งหาทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เพียงเท่านี้...สุขภาพทางการเงินของคุณก็จะแข็งแรง เป้าหมายชีวิตและเป้าหมายทางการเงินก็จะเป็นไปตามที่ตั้งใจไว้

ผลการคำนวณ

คุณมีสุขภาพทางการเงินระดับปานกลาง

จริงๆ แล้วสุขภาพการเงินของคุณอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป แต่เพื่อความไม่ประมาทการเพิ่มความระมัดระวังด้านการใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น จะช่วยเพิ่มพูนเงินออมหรือ เงินลงทุน ส่งผลให้สุขภาพทางการเงินของคุณมีความแข็งแรงมากขึ้น เป็นการสร้างความมั่งคั่ง มั่นคงให้กับตนเอง และบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้

ผลการคำนวณ

คุณมีสุขภาพทางการเงินระดับดีมาก

ขอแสดงความยินดี... ที่คุณมีสุขภาพทางการเงินแข็งแรงดีมากอาจเป็นเพราะคุณมีมุมมอง ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการหารายได้และการใช้จ่ายที่ดี อีกทั้งยังมีวินัยในการออมสูง จึงทำให้คุณมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ แต่เพื่อความไม่ประมาท คุณควรรักษาสิ่งดีๆ เหล่านี้ไว้ พร้อมทั้งเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้ตนเองด้วยการออมและลงทุนอย่างต่อเนื่อง สุขภาพทางการเงินของคุณจะแข็งแรงอย่างนี้ตลอดไป

หมายเหตุ :
ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลดังกล่าว เป็นเพียงแนวทางคร่าว ๆ ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน พฤติกรรมการใช้จ่าย และ/หรือ ทัศนคติในการออมการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประสบการณ์ และความชำนาญที่เปลี่ยนแปลงไป

แหล่งข้อมูล : หนังสือเงินทองต้องใส่ใจ เล่ม 1 (วางแผนการเงินส่วนบุคคล)